คำถามแรกสำหรับหลายๆคน ในการการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ คือใช้เอกสารอะไรบ้าง ซึ่งเป็นคำถามที่เจอกันบ่อยๆในการที่จะทำเรื่องต่อ พ.ร.บ.ในแต่ละปี หากเราลืมหรือปล่อยให้หมดอายุนั้น มีหวังอาจจะโดนเสียค่าปรับอย่างแน่นอน บทความนี้เราจะมาแบ่งปันความรู้ในการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ เริ่มจากตรงไหน ต่อที่ไหนได้บ้าง ขั้นตอนการเตรียมเอกสารต่างๆอย่างไรบ้าง
พ.ร.บ. รถยนต์หมดอายุ จะต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
เมื่อ พ.ร.บ. รถยนต์ของเราหมดอายุ สิ่งแรกที่เราต้องรู้คือ วันหมดอายุซึ่งเราสามารถต่อได้ก่อนไม่เกิน 90 วัน และสิ่งที่เราจะต้องเตรียมคือ เอกสารเพื่อทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์นั้นจะต้องมี
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มจริง
เมื่อเราเตรียมเอกสารครบแล้ว สามารถนำไปต่อพ.ร.บ.รถยนต์ไปต่อได้ที่กรมการขนส่งของแต่ละจังหวัด หรือหากใครที่ไม่สะดวกมี่จะเดินทางไปยังขนส่ง ก็สามารถต่อกับบริษัทประกันภัยต่างๆซึ่งเดี๋ยวนี้มีให้เลือกเรามากมาย โดยค่าใช้จ่ายในแต่ละบริษัทก็จะแตกต่างกันไป แต่ในการคุ้มครองจะเหมือนกันตามที่กฎหมาย พ.ร.บ.กำหนดไว้
คำว่า พ.ร.บ.รถยนต์ มีความสำคัญอย่างไรกับผู้ใช้รถ
โดย พ.ร.บ. คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ รถทุกคันจะต้องมี พ.ร.บ. ซึ่งเป็นกฎหมายข้อบังคับพื้นฐานที่จะต้องทำ เพื่อความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ใช้รถแล้วได้รับอุบัติเหตุ โดยจะคุ้มครองผู้ได้รับอุบัติเหตุทั้งที่เป็นฝ่ายถูกละฝ่ายผิด ทั้งนี้กฎหมายจะคุ้มครองในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กำหมายกำหนด
หากรถของเราไม่มี พ.ร.บ. จะโดนปรับเท่าไหร่
- ที่สำคัญหากเราไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และจะไม่สามรถต่อทะเบียนรถได้ ทั้งนี้จะต้องเก็บเอกสารหลักฐานการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ไว้เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ทุกครั้งที่เรียกตรวจสอบด้วย
ประโยชน์ของ พ.ร.บ. รถยนต์มีอะไรบ้าง
ไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด
- กรณีบาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกิน 30,000 บาท
- หากเสียชีวิตจะได้รับเงินค่าทำศพ 35,000 บาท
หากพิสูจน์ได้ว่าพิสูจน์ได้ว่าเป็นฝ่ายถูก
- สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลตามจริงได้ ไม่เกิน 80,000 บาท
- เงินชดเชยกรณีเสียชีวิตหรือทุพลภาพถาวร 300,000 บาท
- เงินชดเชยการเข้ารักษาตัวผู้ป่วยใน วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน รวม 4,000 บาท
- รวมเงินค่าสินไหมทดแทนต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งไม่เกิน 304,000 บาท
แสดงความคิดเห็น